ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สาวกมังงะ คลิกเลย “แต้มมีค่า อย่าลืมมาเบิร์น” อ่านเงื่อนไขและแลกแต้ม Flash sale 30 % คลิก Oxford Reading Club เครื่องมือช่วยฝึกภาษาอังกฤษ เรียนรู้ครบจบในที่เดียว คลิก
ทั่วไป
ฟ้าเดียวกัน ปีที่ 20 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2565

ฟ้าเดียวกัน ปีที่ 20 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2565

กษัตริย์ ปะทะ กระฎุมพีตุลาการ ทฤษฎีเศรษฐกิจเกิดใหม่ในเอเชีย การก่อเกิดและคลี่คลายขยาย (สลาย) ตัวของเครือข่ายกษัตริย์
* ราคาพิเศษเฉพาะเว็บ
ราคาพิเศษ
250.00 บาท
237.50 บาท
ฟ้าเดียวกัน ปีที่ 20 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2565
เนื้อหาโดยสังเขป
    ผู้พิพากษา/ตุลาการที่เป็น "ตัวแทน" ของความเที่ยงธรรม เป็นผู้อำนวยความยุติธรรมให้กับราษฎรนั้น เป็นสิ่งที่เพิ่งถูกสร้างขึ้นพร้อม ๆ กับการสถาปนารัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก่อนหน้านั้นแม้ว่าสยามจะมีกฎหมายต่าง ๆ เช่น กฎหมายตราสามดวง ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดเกล้าฯ ให้ชำระจากกฎหมายเก่าที่มีมาแต่ครั้งโบราณ ทว่าวิธีการไต่สวนจำเลยตามระบบจารีตนครบาลก็มิได้มีความ "ศิวิไลซ์" แต่อย่างใด ยังมีการลงโทษด้วยการทารุณกรรมในรูปแบบต่าง ๆ อีกทั้งระบบศาลก็แยกย่อยไปอยู่ตามหน่วยงานต่าง ๆ มีผู้นับประเภทได้ถึง 14 ศาลด้วยกัน มิพักต้องกล่าวถึงบรรดาเจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรม ที่เป้าหมายในการทำงานหาใช่เพื่อผดุงความยุติธรรมไม่

    ดังที่บาทหลวงปัลเลอกัวซ์ ประมุขมิสซังสยามตะวันออก (2384-2405) ได้บันทึกไว้ว่า "ทางที่ดีที่สุดที่จะชนะคดีก็คือสัญญาว่าจะให้เงินก้อนใหญ่แก่ข้าราชการผู้มีอิทธิพล ซึ่งเป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับคดีของท่าน" ด้วยระบบการพิจารณาคดีแบบบ้านป่าเมืองเถื่อนเยี่ยงนี้ การยื่นเงื่อนไขเรื่องสิทธิสภาพนอกอาณาเขตของชาติมหาอำนาจซึ่งสอดแทรกเข้ามาในการทำสนธิสัญญาการค้ากับสยามในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงมิใช่เรื่องที่ควรต้องแปลกใจแต่อย่างใด แม้จะกล่าวได้ว่า "นิติศาสตร์สมัยใหม่" ของไทยเป็นผลของการปฏิรูปกฎหมายในสมัยรัชกาลที่ 5 แต่ก็ไม่ได้ทำให้กระบวนการยุติธรรมของสยามในเวลานั้นหรือไทยในเวลานี้ "ศิวิไลซ์" ขึ้นจริง ๆ สักเท่าไร...
สารบัญ
- บทบรรณาธิการ ถือเจ้ามากกว่าราษฎร

ทัศนะวิพากษ์
- สมชาย ปรีชาศิลปกุล : ตุลาการผู้ "ถือนายมากกว่าเจ้า" : คดีพญาระกาและเรื่องเล่านอกขนบประวัติศาสตร์กฎหมายไทย
- รอมฎอน ปันจอร์ : ความกำกวมและกํ้ากึ่งของระบอบและรูปแบบรัฐไทย
- อะกิระ ซุเอะฮิโระ เนตรนภา ไวทย์เลิศศักดิ์ (ยาบุชิตะ) : ทฤษฎีเศรษฐกิจเกิดใหม่ในเอเชีย : อนาคตของการไล่กวด
- ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ : เพอร์รี่ แอนเดอร์สัน ว่าด้วยปัญหารัสเซียกับยูเครน

บทความปริทัศน์
- สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี : การก่อเกิดและคลี่คลายขยาย (สลาย) ตัวของเครือข่ายกษัตริย์
รายละเอียดหนังสือ
รหัสสินค้า: 9786169399421
ขนาดรูปเล่ม: 164 x 239 x 9 มม.
น้ำหนัก: 255 กรัม
เนื้อในพิมพ์: ขาวดำ
ชนิดกระดาษ: กระดาษถนอมสายตา
สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน, สนพ.
ลักษณะของหนังสือมีตำหนิ (หนังสือเกรด B)
ตัวอย่าง เกรด/สภาพ
สภาพหนังสือชำรุดเล็กน้อย (B1)
ปกพับ สันบุบ ขาด
ลดราคา 20%
สภาพหนังสือชำรุดปานกลาง (B2)
ปกพับ สันบุบ ขาด สังเกตเห็นได้ว่าขาด ชำรุดมาก
ลดราคา 30%
สภาพหนังสือเก่าชำรุดปานกลาง (B3)
แต่ไม่มาก อาจมีสภาพปกพับ ปกหักร่วมด้วย
ลดราคา 50%
สภาพหนังสือเก่ามาก (B4)
อาจมีสภาพชำรุดร่วมด้วย แต่เนื้อหายังครบถ้วน
ลดราคา 70%
(ซื้อแล้วไม่รับเปลี่ยน หรือคืนทุกกรณี ยกเว้นชำรุดอันเนื่องมาจากการพิมพ์)
จาก :
ถึง :
หัวเรื่อง :
กษัตริย์ ปะทะ กระฎุมพีตุลาการ ทฤษฎีเศรษฐกิจเกิดใหม่ในเอเชีย การก่อเกิดและคลี่คลายขยาย (สลาย) ตัวของเครือข่ายกษัตริย์
ผู้เขียน -
ราคาพิเศษ
250.00 บาท
237.50 บาท
facebook twitter g+ se-ed.com
บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน)
e-commerce@se-ed.com โทร.02-826-8753-4
ส่ง ปิด