ค้นหา
เข้าสู่ระบบ
สาวกมังงะ คลิกเลย “แต้มมีค่า อย่าลืมมาเบิร์น” อ่านเงื่อนไขและแลกแต้ม Flash sale 30 % คลิก Oxford Reading Club เครื่องมือช่วยฝึกภาษาอังกฤษ เรียนรู้ครบจบในที่เดียว คลิก
ทั่วไป
ฟ้าเดียวกัน ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2562

ฟ้าเดียวกัน ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2562

ประวัติศาสตร์ที่เพิ่งสร้างของ "ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข"
* ราคาพิเศษเฉพาะเว็บ
ราคาพิเศษ
250.00 บาท
237.50 บาท
ฟ้าเดียวกัน ปีที่ 17 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2562
เนื้อหาโดยสังเขป
    แท้จริงแล้ว "ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" คือประวัติศาสตร์ที่เพิ่งสร้างของการเมืองไทยอย่างแท้จริง กล่าวคือ เมื่อมีการปฏิวัติสยาม 2475 เรามีพระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองสยามชั่วคราว 27 มิถุนายน 2475 ที่กำหนดให้ "อำนาจสูงสุดเป็นของราษฎรทั้งหลาย" มาแทนที่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่อำนาจรวมศูนย์อยู่ที่กษัตริย์ ในรัฐธรรมนูญดังกล่าวไม่มีแม้จะเอ่ยถึงคำว่าประชาธิปไตยด้วยซ้ำ เพราะคำว่าประชาธิปไตยในห้วงเวลานั้นหมายถึงระบอบสาธารณรัฐ ดังประกาศคณะราษฎร 3 วันก่อนประกาศใช้รัฐธรรมนูญได้ประกาศอย่างตรงไปตรงมาว่า คณะราษฎรไม่ประสงค์ทำการแย่งชิงราชสมบัติ ฉะนั้น จึ่งได้อัญเชิญให้กษัตริย์องค์นี้ดำรงตำแหน่งกษัตริย์ต่อไป แต่จะต้องอยู่ใต้กฎหมายธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน จะทำอะไรโดยลำพังไม่ได้ นอกจากด้วยความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร คณะราษฎรได้แจ้งความประสงค์นี้ให้กษัตริย์ทราบแล้ว เวลานี้ยังอยู่ในความรับตอบ ถ้ากษัตริย์ตอบปฏิเสธ หรือไม่ตอบภายในกำหนด โดยเห็นแก่ส่วนตนว่าจะถูกลดอำนาจลงมา ก็จะชื่อว่าทรยศต่อชาติ และก็เป็นการจำเป็นที่ประเทศจะต้องมีการปกครองแบบอย่างประชาธิปไตย กล่าวคือ ประมุขของประเทศจะเป็นบุคคลสามัญซึ่งสภาผู้แทนราษฎรได้เลือกตั้งขึ้น อยู่ในตำแหน่งตามกำหนดเวลา

    จนกระทั่งมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญคือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534 ที่ระบุในมาตรา 2 ว่า "ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข" นอกจากมีการเพิ่มเติมคำขึ้นมาแล้ว ในส่วนของเนื้อหายังมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือการถวายคืนพระราชอำนาจแก่กษัตริย์ ดังปรากฏในมาตรา 21 ว่าด้วยการสืบราชสมบัติ กล่าวคือแต่เดิมหลังปฏิวัติสยาม 2475 รัฐสภาเป็นส่วนหนึ่งที่ให้ความ "เห็นชอบ" ในการขึ้นครองราชย์ของกษัตริย์ คงเหลือแต่การ "รับทราบ" ซึ่งถือเป็นความอิสระโดยสิ้นเชิงที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน และนี่เป็นวิถีปฏิบัติของรัฐธรรมนูญทุกฉบับนับตั้งแต่นั้นมา และถือได้ว่าเป็นการเข้าสู่อีกยุคหนึ่งของการที่ "ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" มาจนถึงปัจจุบัน
สารบัญ
บทบรรณาธิการ : ประวัติศาสตร์ที่เพิ่งสร้างของ "ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข"

ทัศนะวิพากษ์
- สุภลักษณ์ กาญจนขุนดี : ระบอบ (ที่ใหญ่กว่า) ประยุทธ์ : ข้อพิจารณาสถาบันกษัตริย์และกองทัพในการเมืองไทย
- ประพันธ์ แจ้งกิจชัย : พระบารมีมากล้นพ้นรำพัน : พระบรมราชานุสาวรีย์อุทยานราชภักดิ์ กับปฏิบัติการซ่อมสร้างความทรงจำร่วมท่ามกลาง วิกฤตศรัทธา
- ปวงชน อุนจะนำ : สถาบันที่ยิ่งใหญ่ มาพร้อมการศึกษาที่ใหญ่ยิ่ง : โต้บทวิจารณ์ "กษัตริย์กระฎุมพี"
- สมชาย ปรีชาศิลปะกุล : ยักษ์พิทักษ์รัฐธรรมนูญ : แนวคิดและพลวัตของศาลรัฐธรรมนูญ ในการจัดทำรัฐธรรมนูญ 2540 และรัฐธรรมนูญ 2550
- ธิกานต์ ศรีนารา : นิตยสาร ปิตุภูมิ และ มาตุภูมิ กับการเคลื่อนไหวทางการเมืองวัฒนธรรม และความผิดพลาดทางประวัติศาสตร์ของปัญญาชนฝ่ายซ้ายไทยในช่วงระหว่างทศวรรษ 2490-2500
- อิทธิเดช พระเพ็ชร : "ยิงเป้า" มาตรา 17 : หนังสือพิมพ์ไทยกับการกลายเป็นลิงของผู้อ่าน ในวัฒนธรรมเชือดไก่ให้ลิงดู
- นภาพร อติวานิชยพงศ์ : ผู้นำสหภาพแรงงานไทยกับการเข้าร่วมขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมือง : จากรัฐประหาร 2549 – รัฐประหาร 2557
รายละเอียดหนังสือ
รหัสสินค้า: 9786167667799
ขนาดรูปเล่ม: 166 x 241 x 13 มม.
น้ำหนัก: 335 กรัม
เนื้อในพิมพ์: ขาวดำ
ชนิดกระดาษ: กระดาษถนอมสายตา
สำนักพิมพ์ฟ้าเดียวกัน, สนพ.
เดือนปีที่พิมพ์: 2019
ลักษณะของหนังสือมีตำหนิ (หนังสือเกรด B)
ตัวอย่าง เกรด/สภาพ
สภาพหนังสือชำรุดเล็กน้อย (B1)
ปกพับ สันบุบ ขาด
ลดราคา 20%
สภาพหนังสือชำรุดปานกลาง (B2)
ปกพับ สันบุบ ขาด สังเกตเห็นได้ว่าขาด ชำรุดมาก
ลดราคา 30%
สภาพหนังสือเก่าชำรุดปานกลาง (B3)
แต่ไม่มาก อาจมีสภาพปกพับ ปกหักร่วมด้วย
ลดราคา 50%
สภาพหนังสือเก่ามาก (B4)
อาจมีสภาพชำรุดร่วมด้วย แต่เนื้อหายังครบถ้วน
ลดราคา 70%
(ซื้อแล้วไม่รับเปลี่ยน หรือคืนทุกกรณี ยกเว้นชำรุดอันเนื่องมาจากการพิมพ์)
จาก :
ถึง :
หัวเรื่อง :
ประวัติศาสตร์ที่เพิ่งสร้างของ "ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข"
ผู้เขียน -
ราคาพิเศษ
250.00 บาท
237.50 บาท
facebook twitter g+ se-ed.com
บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน)
e-commerce@se-ed.com โทร.02-826-8753-4
ส่ง ปิด