| ศาสตร์แห่งศาสนาจัดพิมพ์ขึ้นเป็นพิเศษในวาระครบรอบ 100 ปี ที่ "ท่านปรมหังสา โยคานันทะ" ได้ไปถึงสหรัฐอเมริกา และก่อตั้ง เชลฟ์ รีอะไลเซชั่น เฟลโลว์ชิพ ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่เผยแผ่คำสอนกริยาโยคะให้แพร่หลายไปทั่วโลก |
* ราคาพิเศษเฉพาะเว็บ หนังสือ | 175.00 บาท 166.25 บาท |  |
|
 | ศาสตร์แห่งศาสนา | | |
"ศาสตร์แห่งศาสนา" เล่มนี้ จัดพิมพ์ขึ้นเป็นพิเศษในวาระครบรอบ 100 ปี ที่ "ท่านปรมหังสา โยคานันทะ" ได้ไปถึงสหรัฐอเมริกา และก่อตั้ง เชลฟ์ รีอะไลเซชั่น เฟลโลว์ชิพ ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่เผยแผ่คำสอนกริยาโยคะให้แพร่หลายไปทั่วโลก
"ศาสตร์แห่งศาสนา" เป็นภาคขยายของปาฐกถาครั้งประวัติศาสตร์ของ "ท่านปรมหังสา โยคานันทะ" ที่แสดง ณ เมืองบอสตัน ในปี ค.ศ.1920 นับตั้งแต่ที่ตีพิมพ์ครั้งแรก หนังสือเล่มนี้ได้ช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจแนวคิดที่ท่านปรมหังสา โยคานันทะ นำจากอินเดียมาบอกกล่าวแก่ชาวตะวันตก แนวคิดดังกล่าวเป็นศาสตร์อันเก่าแก่ แต่เหมาะสมทุกประการกับยุคสมัยปัจจุบัน ที่ว่าจุดมุ่งหมายของชีวิตนั้นคือการขจัดทุกข์ให้ได้อย่างเบ็ดเสร็จตลอดกาล และตระหนักรู้ว่าตัวตนของเราเป็นส่วนหนึ่งของบรมวิญญาณ หรือพระเจ้าอันเป็น "ต้นธารแห่งปิติสุข"
ท่านโยคานันทะได้อธิบายศาสตร์โยคะ อันเป็นศาสตร์สากลทางมิติวิญญาณของอินเดียด้วยภาษาที่ชัดเจนแจ่มแจ้ง และชี้ให้เห็นว่าศาสตร์นี้สามารถนำพาทุกผู้ทุกนามให้เข้าถึงปิติสุขได้ด้วยตนเอง ท่านกล่าวว่า "หากศึกษาและปฏิบัติวิธีการตามที่บอกไว้อย่างตั้งอกตั้งใจ...ผู้ปฏิบัติจะรู้ว่าตัวเขาคือวิญญาณที่เปี่ยมด้วยปีติสุข และจะตระหนักรู้ในพระเจ้า" วิธีการนี้มีความเป็นวิทยาศาสตร์ และเป็นการปฏิบัติธรรมที่ไม่ขึ้นกับนิกายใด ไม่เพียงแต่สอดคล้องกับความเป็นจริงเท่านั้น แต่ยังสามารถนำไปปฏิบัติจนเกิดผลเป็นที่ประจักษ์ ศาสตร์นี้สามารถยกระดับจิตของผู้คนให้สูงขึ้นและเข้าใจความจริงได้ดียิ่งขึ้น จึงเหมาะอย่างยิ่งสำหรับอารยธรรมของโลกยุคใหม่ที่กำลังจะมาถึง
ส่วน 1. ความเป็นสากลของศาสนา ความจำเป็นที่ต้องมี
ส่วน 2. ความทุกข์ ความสุข และปีติสุข ต่างกันอย่างไร
ส่วน 3. พระเจ้าในฐานะที่ทรงเป็นปีติสุข
ส่วน 4. วิธีการที่เป็นพื้นฐานทางศาสนาสี่ประการ ความจำเป็นที่ต้องมีวิธีการทางศาสนา
ส่วน 5. เครื่องมือในการเข้าถึงความรู้ และความสมเหตุสมผล ของวิธีการทางศาสนา
- ฉบับครบรอบ 100 ปี ของเอสอาร์เอฟ
- "ท่านปรมหังสา โยคานันทะ" (ค.ศ.1893-1952) ได้สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนมาแล้วนับล้านจากหนังสือ "อัตชีวประวัติของโยคี" วันแรกที่ท่านก้าวลงสู่ผืนแผ่นดินอเมริกาไม่มีใครรู้จักท่านเลย แต่ต่อมาอีกไม่นาน ท่านก็ได้รับสมญานามว่า "บิดาแห่งโยคะในโลกตะวันตก" มีผู้อ่านทุกประเภท จากทุกเชื้อชาติ ศาสนาและวัฒนธรรม ได้รับอานิสงส์มหาศาลมาแล้วจากคำสอนอันประณีตและเป็นสากลของท่าน
อย่างที่ท่านปรมหังสาว่าไว้และได้พิสูจน์ให้เราเห็นจริง ทุกคนในโลกล้วนปรารถนาจะมีความสุข แต่คนส่วนใหญ่ยังหลงอยู่ในความอยากได้ความสุข พระพุทธองค์เองตรัสไว้ชัดเจนว่าเป็นเพราะความอยาก และตามมาด้วยอวิชชา (ความเขลา) มนุษย์จึงยังจมปลักอยู่ในกองทุกข์และต้องตะเกียกตะกายอยู่ในนั้นอย่างหมดหนทาง ในศาสนาฮินดูมีการปฏิบัติทางศาสนาอยู่สี่วิธี และวิธีที่สี่คือวิธีที่จะเข้าถึงปีติสุขที่เราทุกคนอยากได้ อันที่จริงแล้ว วิธีที่สี่นี้เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด แต่จะสำเร็จได้ก็ต้องอาศัยการนำพาของผู้เชี่ยวชาญ และผู้เชี่ยวชาญที่ว่านี้ บัดนี้อยู่ในหมู่พวกเรานี่เอง เพื่อมาบอกวิธีนี้แก่โลกตะวันตก เป็นวิธีง่าย ๆ ที่ตกทอดกันมายาวนานหลายร้อยปีจากปราชญ์ชาวอินเดียแต่บรรพกาล ซึ่งจะนำพาเราให้เข้าถึงความปีตินิรันดร์
-- ดักลาส กรานต์ ดัฟฟ์ เอนส์ลี (ค.ศ.1865-1952) --
รัฐบุรุษ กวี และนักปรัชญาชาวอังกฤษ
ผู้แทนในการประชุมนานาชาติด้านปรัชญา (International Congress of Philosophy) ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด